Soil and Stones, Souls and Songs

FOR ENGLISH PLEASE SCROLL DOWN

Soil and Stones, Souls and Songs

นิทรรศการกลุ่ม นำเสนอผลงานศิลปะโดย:

ตาเร็ค อาตุย / มาเรียน่า กาสติโย่ เดบาล / จิมมี่ เดอแรม / ซุไลมาน เอซา / เอ็ดการ์ เฟร์นันเดซ / เมชัค กาบา / ซิมริน กิล / อิยอน กริกอเรสคู / ตาลอย ฮาวินิ / โหว ซิว-กี / เจมส์ ที. หง / ฮ่องกง ฟาร์ม / ปีเตอร์ เคนเนดี้ & จอห์น ฮิวจ์ / เจน จินไคเซง / คยองแมน คิม / โซยัง คิม / จอง คิม / โอเชียน เหลียง / ลี่ ปินหยวน / หลี่ หราน / โฆเซ่ มาเซดา / ประภาการ์ พัชปุเต / ปรัชญา พิณทอง / เรดซา ปิยาดาสา / โร แจ อึน / รีตู สัตตาร์ / ชิตะมิจิ โมโตยูกิ / จุฬญาณนนท์ ศิริผล / วอลเตอร์ สเมทาค / สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา / ชึง คอง ตุง / แฮก หยาง / เทรเวอร์ ยัง / โตกุลดูร์ ยอนโดนัมทส์

คัดสรรโดย คอสมิน คอสตินาส และ อินทิ เกเรโร่
ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน กรุงเทพฯ
15 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น.
กิจกรรมเสนากับศิลปิน วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม เวลา 15.30 น.
พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่เสาร์ที่ 15 กรกฎาคม เวลา 18.00 น.

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน คาดิสต์ และพารา ไซต์ สนับสนุนโดย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ยินดีนำเสนอ Soil and Stones, Souls and Songs นิทรรศการสัญจรสำคัญชุดใหม่ คัดสรรขึ้น ขึ้นบนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ของความตึงเครียด และเรื่องเล่าที่พบเห็นได้จากความเป็นจริงในปัจจุบัน จากการผลิตเชิงศิลปะวัฒนธรรม และจากแนวคิดร่วมสมัยในเขตเอเชีย และพื้นที่อื่นๆ โดย คอสมิน คอสตินาส และอินทิ เกเรโร่ ด้วยการวางโครงสร้างทางความคิดบนกระบวนการปฏิบัติทางศิลปะ การผลิตงานศิลปะขึ้นใหม่ และกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งคัดสรรโดย ยงวู ลี, ฉวู๋ ฉาง และ ไซม่อน ซูน และได้ทดลองกับรูปแบบ รวมถึงกระบวนการสร้างงานทั้งอย่างตรงไปตรงมา หรือโดยเชิงสัญลักษณ์ในประเด็นเนื้อหาต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเชิงการเมือง โครงสร้างทางสังคม ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการคุกคามสภาพแวดล้อม เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ สามารถสืบย้อนต้นตอกลับไปยังพลังที่สั่นสะเทือนโลกไปในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเอเชียอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นิทรรศการสัญจร ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันในครั้งนี้ ปรับแปลงจากเมื่อครั้งที่ นำเสนอณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย และงานออกแบบ มะนิลา และพาราไซต์ ฮ่องกง

พลังของตลาดโลกที่ระเบิดออกมาในภูมิภาคเอเชียได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการผลิต แรงงาน ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม รวมถึงโครงสร้างทางสังคมอย่างกว้างขวางไปทั่วภูมิภาค ความวิตกกังวลของโลกใหม่ และความทะเยอทะยานในการแข่งขันกันในสังคมที่โดนแปลงโฉมใหม่นี้ กำลังใฝ่หาจินตนาการถึงรูปแบบใหม่ๆ ทางการเมือง ถึงความคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างความหมายและแนวทางในการเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในการใช้ชีวิตอยู่ในภูมิภาคนี้ ความคิดเหล่านี้ที่ส่วนใหญ่พยายามวางตัวเองลงในตำแหน่งขั้วตรงข้ามในประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม มักถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่นอกคอก กระทั่งไม่อยู่ในมาตรวัดของความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก บ่อยครั้งพัฒนาไปเป็นงานที่เกิดขึ้นบนฐานของอุดมการณ์ทางความคิดแบบผสมผสานและซับซ้อน อย่างไรก็ดี งานเหล่านี้ ซึ่งในหลายกรณีต่อยอดมาจากการต่อสู้ดิ้นรนกับการต่อต้านอาณานิคม และจากกระบวนการสร้างชาติในยุคหลังอาณานิคม เป็นการปรับแปลงครั้งล่าสุดต่อการฟื้นคืนชีพของภูมิภาค และต่อสิ่งที่อาจมองได้ว่ากำลังเป็นวิกฤตการณ์ในโลกตะวันตก ในแง่นี้เอง กล่าวได้ว่ามีเส้นโยงใยแนวคิดที่ดูต่างกันสิ้นเชิง ระหว่างลัทธิขงจื๊อใหม่ที่กำลังถูกรื้อฟื้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้ากับแนวคิดใหม่ถึงความหมายของการเป็นชนพื้นถิ่นในทั่วทุกภูมิภาคที่เคยตกเป็นเมืองอาณานิคม ตั้งแต่เมลานีเซียไปจนถึงอเมริกา ซึ่งก้าวผ่านสิ่งที่ดูเป็นมากกว่าเพียงแค่การฟื้นคืนของลัทธิชาตินิยมในหลายประเทศทั่วโลก ปรากฏการณ์หลังนี้เอง ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตกผลึกในการชำระประเด็นทางประวัติศาสตร์และตำนาน (ทั้งของชุมชนต่างๆ และของโลกเอง) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ และเชิงนิเวศน์ ซึ่งได้นำไปสู่ความวิตกกังวลที่โลกกำลังเผชิญ อย่างไรก็ดี ความหวาดกลัวนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในเอเชีย การแสวงหาพื้นที่อันสมบูรณ์ในโลกยิ่งชัดเจนขึ้นจากการสูญเสียความแน่นอน จากความวิตกกังวลในการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ในยุคหลังอาณานิคมและยุคหลังสงครามเย็น และจากความยากลำบากและความโหดร้ายที่บ่อยครั้งมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม

นิทรรศการศิลปะจะส่งผ่านความซับซ้อนนี้ออกไปได้อย่างไร รูปแบบ วัตถุ และสาระของงานศิลปะ จะแปลบริบทความวิตกกังวลที่เรากำลังชี้ให้เห็นนี้ได้อย่างไร ขอบเขตของความซับซ้อนอันไม่สิ้นสุดในภูมิภาคของเราจะถูกแปลออกมาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงความความซับซ้อนในการนิยามวัตถุและภาพของจีนที่เป็นศูนย์กลางของประเด็นต่างๆ เหล่านี้ นิทรรศการนี้พยายามตอบคำถามต่างๆ ผ่านสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน และผ่านกรณีศึกษาแยกเดี่ยวต่างๆ ที่เมื่อรวมกันสร้างมุมมองที่หลากหลายต่อเรื่องของเรา นอกจากนี้ นิทรรศการยังให้ความสำคัญกับศัพท์เชิงสุนทรียศาสตร์และการสืบหาความเป็นสมัยใหม่แบบไม่ตะวันตก ว่าถูกสะท้อนออกมาอย่างไรในการอ้างอิงรูปแบบทางศิลปะที่ศิลปินในแต่ละรุ่นจากแต่ละพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เลือกใช้ในกระบวนการสร้างงาน ในขณะที่เรื่องราวจำนวนไม่น้อยสืบย้อนต้นกำเนิดได้ในภูมิภาคเอเชีย นิทรรศการนี้ยังพยายามทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ด้วยการสืบค้นต้นตอกลับไปหาเสียงและเงาสะท้อนที่อยู่นอกเหนือฟากฝั่งทวีปออกไป ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น.
สำหรับการสัมภาษณ์ศิลปินและภัณฑารักษ์ กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ต้องการข้อมูลเพิมเติ่ม กรุณาติดต่อ
โทรศัพท์: 02.612.6741 อีเมล: artcenter@jimthompsonhouse.com
เฟซบุค: the Jim Thompson Art Center
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org
————————–————————–————————–————-
A group exhibition featuring:

Tarek Atoui, Mariana Castillo Deball, Jimmie Durham, Sulaiman Esa, Edgar Fernandez, Meschac Gaba, Simryn Gill, Ion Grigorescu, Taloi Havini, Ho Siu-Kee, James T. Hong, Hong Kong Farm,
Peter Kennedy & John Hughes, Jane Jin Kaisen, Kyungman Kim, Soyoung Kim/Jeong Kim, Ocean Leung, Li Binyuan, Li Ran, José Maceda, Prabhakar Pachpute, Pratchaya Phinthong,
Redza Piyadasa, Rho Jae Oon, Reetu Sattar, Shitamichi Motoyuki, Chulayarnnon Siriphol, Walter Smetak, Suttirat Supaparinya, Trương Công Tùng, Haegue Yang, Trevor Yeung, Tuguldur Yondonjamts

Curated by Cosmin Costinas and Inti Guerrero

At the Jim Thompson Art Center, Bangkok
15 July to 31 Oct 2017, daily from 9.00am till 8.00pm

Artists’ talks on Saturday 15 July at 3.30pm
Opening celebrations on Saturday 15 July at 6.00pm

The Jim Thompson Art Center, KADIST, and Para Site, with the support of the French Embassy in Thailand, are pleased to present the major traveling and transforming exhibition Soil and Stones, Souls and Songs, based on several intertwined lines of tension and narratives found today in the realities, artistic and cultural production, and contemporary thought in the Asian sphere and beyond. The exhibition is curated by Cosmin Costinas and Inti Guerrero and is constructed on a spectrum of art practices, new commissions, case studies curated by Yongwoo Lee, Qu Chang, and Simon Soon, and experiments on forms and processes addressing, directly or symbolically, several broad categories of issues. These can all be traced to the seismic forces that have transformed the world over the past decades, with Asia being at the forefront of these changes. Opening now in an adapted version at the Jim Thompson Art Center in Bangkok, the exhibition was previously presented at the Museum of Contemporary Art and Design in Manila and at Para Site in Hong Kong.

The unleashing of the forces of the global market in the Asian region has modified forms of production, labour, landscape and environments, as well as wider societal structures across the continent. The anxieties of the new world, and the often competing aspirations of these reshaped societies are in search of new forms of imagining the political, of new ideas meant to give sense and direction to the changing realities. Many of these ideas try to position themselves in opposition to liberal democracy—perceived as foreign—or even outside of the parameters of Western modernity, often creating complex and hybrid ideological projects. Sometimes continuing ideas from the anticolonial struggle and from the postcolonial nation building process, these ideological projects are nevertheless very current adaptations to the region’s rejuvenation and to what is seen as the crisis of the West. In this respect, there is a thread uniting as disparate ideas as the neo-Confucianist revival of the Communist Party in China to new ideas about what it means to be indigenous across the colonized world, from Melanesia to the Americas, passing through what appears to be a more conventional resurgence of nationalism in different countries. This latter phenomenon has catalysed revisions of historical issues and of various founding myths (of communities and of the world itself) in the face of historical and ecological threats, leading to a general horizon of anxiety. This fear extends beyond Asia, finding fertile ground in a world marked by a loss of certainties, by the anxiety of a shifting geopolitical order in the postcolonial and post-Cold War Era, and by the unease and violence often accompanying the transformation of traditional economic and cultural patterns.

How can an art exhibition convey this? How can forms, objects, and matter translate the contextual anxieties we are pointing out? How can the infinite complexities of the horizon over our continent be translated, not to mention the complexities defining the actual object and spectre named China, which appears at the center of these issues? The exhibition attempts to answer these questions through several interrelated threads, as well as through a number of separate case studies that compose a kaleidoscopic vision of our subject. It is also particularly attentive to aesthetic vocabularies and to how the search for an outside to Western modernity has been reflected in the references or the forms employed by artists of various generations and geographies. While many of the stories traced are occurring within Asia, the exhibition also tries to understand the transformations happening on our continent by tracing their echoes, resonances, and mirrored shadows outside its shores, near and far.

The gallery is open from 9.00am to 8.00pm, with free admission.
The artists and curator are available for interview upon request.
For more information:
Phone: 02.612.6741
Email: artcenter@jimthompsonhouse.com
Facebook: the Jim Thompson Art Center
Website: www.jimthompsonartcenter.org 

view also Kadist Foundation Site