[English below]

2559, ศิลปะติดตั้ง (กระสุนปืนทหารเปล่าขนาด 5.56×45mm จำนวน 360 อัน, หนังสือต้องห้ามหรือควมคุมในประเทศเอเชียและโอเชียเนีย 55 เล่ม, กระดาษกรีนลีฟ และกระดาษสีขาว, ลวดทองแดง หมายเลข 38, หนังสือต้องห้ามที่ถูกทำลายเป็นเส้นตรง, เครื่องทำลายเอกสาร, บัตรรายการหนังสือที่เขียนด้วยลายมือ และกล่องไม้ใส่บัตรรายการ),ขนาดยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่

Commissioned โดย The Reading Room, กรุงเทพ, 2016. สนับสนุนโดย Heinrich Boell Foundation, Southeast Asia.

Paradise of the Blind เป็นชื่อหนังสือต้องห้ามในประเทศเวียดนาม และเป็นหนึ่งในรายชื่อหนังสือต้องห้ามในเอเชียและโอเชียเนีย ซึ่งได้รับการรวบรวมไว้ในนิทรรศการศิลปะซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งแรกของโปรเจ็ค SLEEPOVER ที่ห้องสมุด The Reading Room วันที่ 5-29 พฤษภาคม 2559

ในสรวงสวรรค์แห่งความมืดมิดของสภาวะต้องห้าม ที่เต็มไปด้วยการผลิตซ้ำ ความรุนแรง ความถูก-ผิดของกฏหมายที่ดิ้นได้ อำนาจควบคุมที่มาจากเบื้องบน และการทำลายทางความคิดอย่างเป็นรูปธรรม การทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเรื่องราวหรือข้อมูลต้องห้ามเหล่านี้ อาจสร้างสวรรค์แห่งศีลธรรมที่แยกจากความเป็นจริงบนโลก ทำให้ชีวิตไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง ไร้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ขาดความเข้าใจความหลากหลายทางสังคม และไม่มีความอดทนอดกลั้นต่อความเป็นอื่น นรกหรือสวรรค์ที่เกิดขึ้นในใจของผู้อ่าน ที่สุดแล้วอาจขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการความนึกคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเอง

เนื่องจากวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันครบรอบ 50 ปี การเสียชีวิตของนักเขียนชาวไทย จิตร ภูมิศักดิ์ เพื่อเป็นการระลึกถึงและแสดงความเคารพ นิทรรศการนี้จึงได้รวมผลงานของจิตร ที่เคยเป็นหนังสือต้องห้ามเอาไว้ด้วย (โฉมหน้าศักดินาไทย ถูกห้ามในปี 2520) ผู้ชมสามารถเผชิญหน้ากับหนังสือต้องห้ามทั้งหมดได้จากสำเนาที่ได้ถูกตัดโดย เครื่องทำลายเอกสาร หรือจากหนังสือต้นฉบับที่มีอยู่ในห้องสมุด

ตัวอย่างหนังสือต้องห้ามในนิทรรศการนี้ เช่น หนังสือเด็กที่โด่งดังอย่าง Alice’s Adventures in Wonderland ที่เคยถูกห้ามในประเทศจีน, หนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กที่ควบคุมในประเทศสิงคโปร์เนื่องจากมีเนื้อหา เกี่ยวกับครอบครัวลูกนกเพนกวินกำพร้าที่มีพ่อแม่เป็นนกเพนกวินเพศชายสองตัว เรื่อง And Tango Makes Three, หนังสือ The Satanic Verse โดย Salman Rushdie ที่เป็นหนังสือต้องห้ามทั้งในอดีตและปัจจุบันในหลายประเทศทั่วโลก ผลงานของเขาทั้งหมดเป็นหนังสือต้องห้ามในมาเลเซีย และเกาหลีใต้มีหนังสือชุดต้องห้ามสำหรับทหาร หนึ่งในนั้นคือ Year 501: The Conquest Continues โดย Noam Chomsky

ส้ม ศุภปริญญา เริ่มทำงานศิลปะที่นำชื่อหนังสือต้องห้ามมาใช้เป็นชื่อผลงาน หรือที่มาของการสร้างผลงานศิลปะ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2558 เพื่อย้ำเตือนว่าการหลงเหลือแต่เพียงรายชื่อหนังสือต้องห้าม แต่มิอาจมีโอกาสได้อ่านเนื้อหานั้นสร้างจินตภาพใดได้บ้าง อีกทั้งภาวะต้องห้ามนั้นกลับค่าได้ด้วยการนำชื่อเรียกของมันมาใช้อีกครั้ง

* หมายเหตุ หนังสือและสิ่งต้องห้ามที่นำมาใช้ในนิทรรศการนี้ได้ซื้อมาโดยถูกกฏหมายในประเทศไทย

=====

2016, installation (360 empty bullet shells (5.56×45mm), 55 Banned/restricted Books in Asia and Oceania, photocopy 55 Banned or restricted Books in Asia and Oceania on Greenleaf and white papers, copper wires No.38, strip-cut banned book shreds, a paper shredder machine, handwriting catalog cards, and a wooden box.), dimension vary with each installation.

Commissioned by The Reading Room, Bangkok, 2016. Supported by Heinrich Boell Foundation, Southeast Asia.

“Paradise of the Blind” is the title of a banned book in Vietnam, which is included in the list of banned and restricted books in the Asia Pacific region at The Reading Room, Bangkok, from 5-29 May 2016.

In Paradise of the Blind, Som explored the issue of books and censorship, reproduction and destruction, abuse of law and power, systematic elimination of the other, through an installation of banned books, both shredded and whole. The artist has been creating artworks addressing the issue of banned books since October 2015.

Examples of banned books in the exhibition are All That Is Gone by Pramoedya Ananta Toer banned in Indonesia; Alice’s Adventures in Wonderland once banned in China; children’s book about same-sex penguin parents And Tango Makes Three, temporarily restricted in Singapore; The Satanic Verse by Salman Rushdie, still banned in many countries and his whole oeuvre is banned in Malaysia; even South Korea has lists of forbidden books for its army, including Year 501: The Conquest Continues by Noam Chomsky.

* All banned books and other prohibited materials in this exhibition were acquired legally in Thailand.

=====

นิทรรศการนี้เป็นหนึ่งในซีรีย์ SLEEP OVER: ที่พักค้างคืนของโปรเจ็คชั่วคราว
SLEEPOVER เป็นกิจกรรมที่ The Reading Room เชิญชวนให้บุคคลและองค์กรด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสร้างบทสนทนากับพื้นที่ ความรู้ และชุมชนของห้องสมุด ผ่านกิจกรรมสาธารณะที่ไม่จำกัดรูปแบบและเนื้อหา เพื่อเพิ่มความหลากหลายสร้างสรรค์ในการเข้าถึงกิจกรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสาขาและชุมชน

โดยผู้ร่วมงานทั้งหกเดือนนี้ นอกจากจะเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญในสาขางานของตนแล้ว ยังทำงานที่ส่งอิทธิพลข้ามสาขาไปยังชุมชนสังคมวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ และมีความสนใจในประเด็นร่วมสมัย เพื่อเปิดพื้นที่ในการวิเคราะห์ วิพากษ์ และเสริมสร้างบทสนทนาอย่างเปิดกว้าง

พฤษภาคม: ส้ม ศุภปริญญา (ศิลปิน)
มิถุนายน: Southeast of Now (กลุ่มนักประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
กรกฏาคม: ทีปกร วุฒิพิทยามงคล (นักเขียน/นักวาด)
สิงหาคม: ปราบดา หยุ่น (นักเขียน)
กันยายน: เครือข่ายพลเมืองเน็ต, สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม และ บุญมีแล็บ (องค์กรด้านสื่อ/เทคโนโลยี)
ตุลาคม: อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ผู้กำกับ/ศิลปิน)

This exhibition is part of the project
SLEEP OVER: Temporary Platform for Critical Engagement

The Reading Room invites six participants to sleepover, takeover, and thinkover our space and our program for one month each, from May to October 2016.The project aims to temporarily handover the ownership of The Reading Room to diverse members of the cultural community, and entrust these participants with the freedom to create, curate, and develop their concepts and practices in a new and unconventional environs, integrated with an open and discursive context, and endowed with a responsive group of audience, in order to create a participatory platform in wider sociocultural community.

Six participants in this project are not only leading instruments in their fields of practice but also casts their influence over sociocultural landscape, both locally and internationally. Moreover, their works usually express and address contemporary social and political situation and encourage open exchange and discourses.

#1 May: Som Supaparinya (artist)
#2 June: Southeast of Now (group of Southeast Asian art historians)
#3 July: Teepagorn Wutipitayamongkol (writer/illustrator)
#4 August: Prabda Yoon (writer)
#5 September: Thai Netizen Network & Social Technology Institute & Boonmee Lab (media/tech organization)
#6 October: Apichatpong Weerasethakul (filmmaker/artist)

Reviews: